วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560

7 อุปกรณ์ที่ควรมีติดรถ หากคุณรักการลุยออฟโรด

อุปกรณ์ที่ควรมีติดรถ
          7 อุปกรณ์ที่ควรมีติดรถ ​ไป​ลุยออฟโรด แนะนำ 7 อุปกรณ์ที่ควรมีติดรถ สำหรับลุยออฟโรด

          ​การขับขี่ออฟโรด นั้นหมายถึงเส้นทางที่นอกเหนือการลาดยาง มีอุปสรรครออยู่เพียบและคุณก็รักที่ฟันฝ่า ได้ทั้งความสนุกเร้าใจตื่นเต้น และยอมรับถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้น 
          แน่อนว่ามีความเสี่ยง แต่เราก็สามารถเตรียมอุปกรณ์ไว้แก้ไขปัญหายามที่เราไปตะลุยออฟโรด อย่างน้อยก็ผ่อนหนักเป็นเบาได้บ้าง โดยฟอร์ด ประเทศไทยได้ให้ข้อมเกี่ยวกับ 7  อุปกรณ์จำเป็นที่ผู้ขับขี่ควรมีติดรถสำหรับการผจญภัยแบบออฟโรด ตามไปดูกันครับว่ามีอะไรบ้าง 

อุปกรณ์ที่ควรมีติดรถ
          1. ชุดกู้ภัย (Recovery Kit)
          นับว่าเป็นอุปกรณ์จำเป็นอย่างมาก หากคุณอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องกู้รถของคุณเพื่อให้สามารถเคลื่อนที่ต่อไปได้ ซึ่งชุดกู้ภัยควรถูกเก็บไว้ในที่ที่ผู้ขับขี่สามารถหยิบได้ง่าย เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ระบบการทำงานของประตูหรือหน้าต่างอาจเสียหาย ดังนั้น การมีชุดกู้ภัยไว้ใกล้ๆ ตัวจะช่วยให้เราสามารถแก้ไขสถานการณ์เลวร้ายต่าง​ ​ๆ ได้อย่างทันท่วงที

อุปกรณ์ที่ควรมีติดรถ

          2. ชุดอุปกรณ์ซ่อมล้อ (Wheel Repair Equipment)          ล้อไม่ใช่เป็นเพียงหนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของรถ แต่ยังเป็นส่วนที่มีโอกาสเสียอยู่บ่อยครั้งเมื่อออกทริปออฟโรด ด้วยพื้นที่ที่ห่างไกลและยากลำบากการรอความช่วยเหลือจึงอาจเป็นยากและเสียเวลามาก ดังนั้น การมีชุดอุปกรณ์ซ่อมล้อและล้อรถสำรองติดรถไว้ พร้อมความรู้เบื้องต้นในการซ่อมและเปลี่ยนล้อ จะช่วยคุณได้เป็นอย่างมากเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ล้อคุณไปต่อไม่ได้ 

อุปกรณ์ที่ควรมีติดรถ
​ภาพจาก ​fourwheeler.com

          3. แผ่นรองล้อกันลื่น (Wheel Slip Pad)

          เมื่อคุณต้องขับรถขึ้นไปบนทางลาดชันที่เต็มไปด้วยโคลนและลื่นมาก การติดแผ่นรองล้อกันลื่นไว้ก่อนเริ่มทริปจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับคุณได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้ มีเทคโนโลยีตัวช่วยมากมายที่ปกป้องล้อรถของคุณให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นขณะขับขี่แบบออฟโรด ตัวอย่างเช่น ฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่ ที่มาพร้อมกับระบบป้องกันล้อหมุนฟรี (Traction Control System) และระบบล็อคเฟืองท้ายแบบ Electronic Locking Rear Differential (LRD) ที่ช่วยให้ผู้ขับขี่เอาชนะทุกความท้าทายในสภาพแวดล้อมแบบสมบุกสมบัน

อุปกรณ์ที่ควรมีติดรถ

          4. ไฟส่องสว่างแบบ LED (Work Light)          การแก้ปัญหาต่างๆ จำเป็นต้องใช้เวลา และยิ่งไปกว่านั้นการแก้ไขสถาณการณ์ในที่มืดย่อมต้องใช้เวลานานมากขึ้นไปอีก ซึ่งนอกเหนือจากไฟติดหัว (headlamp) แล้ว การมีไฟส่องสว่างแบบ LED นั้น ยังช่วยเพิ่มแสงสว่างและทัศนวิสัยที่ดีขึ้นในที่มืด ช่วยให้คุณเห็นสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่หรือกำลังซ่อมแซอยู่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยฟอร์ด เรนเจอร์ ยังได้รับการออกแบบพิเศษด้วยไฟส่องสว่างกระบะหลัง เพื่อความสะดวกในการเก็บหรือหาสิ่งของในเวลากลางคืน ช่วยให้คุณมีแสงส่องสว่างตลอดทั้งคัน 

อุปกรณ์ที่ควรมีติดรถ
​ภาพจาก ebay

          5. รอกสลิงไฟฟ้า (Electrical Winch)          ในเส้นทางออฟโรดที่ท้าทายอาจเต็มไปด้วยหลุมบ่อ และยิ่งการขับในฤดูฝน ปัญหารถติดบ่อโคลน ตกหล่ม นับว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอๆ ระหว่างเดินทาง ซึ่งการนำรอกสลิงไฟฟ้าติดไปด้วยบนรถ จะสามารถช่วยลากรถคุณขึ้นจากการติดหล่มได้ ทั้งนี้ รอกสลิงไฟฟ้า ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่รถยนต์จึงควรใช้งานในขณะที่เครื่องยนต์สตาร์ทติดอยู่ และหากจะใช้ขณะดับเครื่องยนต์ ก็ไม่ควรให้นานเพราะจะทำให้แบตเตอรี่รถยนต์หมดไปด้วย

          สำหรับผู้ขับขี่ฟอร์ด เรนเจอร์ สามารถปรับเปลี่ยนมาใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ความเร็วต่ำ แรงฉุดลากสูง (4x4 Low) ได้ เพียงแค่หมุนสวิทซ์ขณะรถจอดหยุดนิ่ง ซึ่งการควบคุมให้รถของคุณเคลื่อนที่ด้วยเกียร์ต่ำนั้น จะช่วยเพิ่มพลังขับเคลื่อนได้ดียิ่งขึ้นบนพื้นผิวเฉพาะที่ขรุขระ
อุปกรณ์ที่ควรมีติดรถ
​ภาพจาก ​ebay.com​

          6. เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ขนาดพกพา (Jump Starter)          กรณีที่รถของคุณสตาร์ทไม่ติดเนื่องจากแบตเตอรี่หมด เสื่อม หรืออ่อน ในป่าเขาและเส้นทางที่ยากลำบากเราอาจพึ่งพารถคันอื่นไม่ได้ การมีเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ขนาดพกพาติดรถไว้ จะช่วยให้คุณสามารถเดินทางต่อได้อย่างไม่หยุดชะงัก

อุปกรณ์ที่ควรมีติดรถ
​ภาพจาก ​mechanix.com

          7. ถุงมือนิรภัย (Safety Gloves)          อุปกรณ์อเนกประสงค์ที่เป็นประโยชน์สำหรับการซ่อมแซมในทุกสถานการณ์ เช่น เมื่อต้องซ่อมรถในที่ที่มีแสงน้อยหรือเปียกน้ำ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อคุณได้ ถุงมือนิรภัยนั้นจะปกป้องมือของคุณให้ปลอดภัยจากสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ รวมถึงมุมแหลม มุมคม จากตัวรถที่คุณต้องเจอระหว่างการซ่อมแซมได้

          ​แน่อนว่าที่เป็น 7 อุปกรณ์เบื้องต้นที่คลอบคลุมในหลายด้าน และหากคุณมีอุปสรรค์จำเพาะก็สามารถเลือกอุปกรณ์มาเพิ่มเติม ติดตัวยามออกไป​ลุยออฟโรด ให้ทุกทริปมีแต่ความสนุก เร้าใจ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากhttp://www.mitsupatapeethong.com/

9 อาการรถเสียที่เป็นบ่อย กับสาเหตุในเบื้องต้น

อาการรถเสียที่เป็นบ่อย
          9 อาการรถเสียที่เป็นบ่อย ​กับการตรวจเช็กต้นเหตุ มาดูกันว่า หากรถเรามีอาการเสียกับ​ 9 อาการรถเสียที่เป็นบ่อย เกิดจากอะไรบ้าง

          ​รถยนต์กับอาการเสียผิดปรกติเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ เพราะยิ่งใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ของรถก็จะเสื่อมลง และเมื่อมีอาการผิดปรกติ ควรตีวจเช็กและเรียบแก้ไขโดยเร็วจะดีที่สุดยิ่งปล่อยไว้ อาการจะหนักขึ้นเรื่อย ๆ และพาลให้อุปกรร์เสียเพิ่มเติม 
          วันนี้กระปุกคาร์จึงมาแนะนำ 9 อาการรถเสียที่เป็นบ่อย กับวิธีสาเหตุในเบื้องต้น เพื่อที่คุณจะได้เข้าไปตรวจเช็กซ่อมแซม หรือเปลี่ยนอุปกรณ์นั้นได้ถูกต้อง

อาการรถเสียที่เป็นบ่อย
ภาพจาก motorexpo

          ​- ​สัญลักษณ์ไฟเตือนบนแผงหน้าปัด​ 

          จุดนี้เราสามารถเข้าใจและตรวจเช็กแบบกว้าง ๆ ได้หากเข้าใจสัญลักษณ์ ที่เราเห็นกันเป็นประจำก็ 

          ไฟเอนจิ้น (ไฟรูปเครื่องยนต์) จุดนี้จะกว้างหน่อยเพราะปัญหาของเครื่องยนต์เกิดได้จากหลายสาเหตุมาก ถ้าไฟขึ้นแล้วยังขับได้ไม่รุ้สึกถึงปัญหา แนะนำรีบให้เข้าศูนย์บริการตรวจเช็ก ช่างจะมีเครื่องมือ OBD ต่อเข้ากับบอร์ดรถยนต์แล้วสามารถอ่านได้เลยว่า มีปัญหาจากจุดไหน แก้ไขได้รวดเร็ว แถมจ่ายน้อยค่าซ่อมน้อยกว่าทิ้งไว้นาน ๆ แน่นอน
          ไฟเตือนรูปเทอร์โมมิเตอร์ (ไฟบอกความร้อนเครื่อง) ส่วนใหญ่เกิดจากระบบระบายความร้อนเช่น.. พัดลมหม้อน้ำไม่หมุน, หม้อน้ำรั่ว ไม่มีน้ำหล่อเย็นภายใน, ท่อหม้อน้ำตัน นอกจากนนี้ก็ยังมีปัญหาอื่น ๆ ได้อีก   

          ไฟเตือนรูปแบตเตอร์รี่ ชัดเจนว่าเรื่องระบบไฟของรถ ปัญหาหลัก ๆ ก็เรื่องแบตเตอรรี่เสื่อม แต่ก็มีอีกหลายสาเหตุที่เกี่ยวเนื่อง ลองอ่าน "รถสตาร์ทไม่ติด เกิดจากอะไร ? พร้อมวิธีตรวจต้นเหตุ" น่าจะกระจ่างชัดทีเดียว
อาการรถเสียที่เป็นบ่อย

          ​- ​กลิ่นเหม็นไหม้ 

          ​หากคุณได้กลิ่นเหม็นไหม้ขณะขับรถถือว่าจุดนี้ค่อนข้างอันตราย ​​สาเหตุอาจมาจาก​อาจเกิดจากผ้าเบรกไหม้อาจทำให้รถเบรกไม่อยู่จานเบรกคด​ สายพานไหม้​รถดับกลางอากาศ​ ท่อไอเสียปริแตก ลูกสูบไหม้ หรือระบบไฟฟ้าขัดข้อง​ แต่ละปัญหาเป้นเรื่องร้ายแรง ขอให้หยุดขับ เรียกรถลากโดยด่วน ชีวิตเราสำคัญกว่าครับ​

อาการรถเสียที่เป็นบ่อย

          ​- ​มีเสียงดังแปลก​ ​ๆ 

          อาจเกิดจากเครื่องยนต์ผิดปกติ​ หรือสานพานเครื่องยนต์ หากเบรกแล้วมีเสียงผ้าเบรกอาจใกล้หมด จานเบรกมีรอย ลองเช็กซ้ำให้ดีว่ามีเสียงดังมาจากจุดไหน แล้วนำไปบอกช่างซ่อม จะได้รับการแก้ที่ถูกจุดกว่าไปบอกว่า รถมีเสียงดังเฉย ๆ แน่นอนครับ

อาการรถเสียที่เป็นบ่อย

          ​- ​มีควันสีขาวออกมาจากท่อไอเสีย 

          นี้คือน้ำมันเครื่องเข้าระบบเผาไหม้นั้นเอง เช็กเพิ่มเติมจากน้ำมันเครื่องที่พร่อง ส่วนสาเหตุที่น้ำมันเครื่องเข้าเผ้าไหม้ได้ก็ ซีลรั่ว ฝาเครื่องร้าว และอีกเพียบให้ช่างเช็กชัวร์สุด..

อาการรถเสียที่เป็นบ่อย

          ​- ​มีน้ำหรือน้ำมันหยดที่พื้น 

          อาจเกิดจากหม้อน้ำรั่ว​จุดนนี้เปิดหม้อน้ำเช็กเพิ่มเติม อย่างตื่นจระหนกหากเห็นน้ำที่ใต้ท้องรถเพราะอาจจะเป็นน้ำจากระบบแอร์ได้​ ​แต่ถ้าเป็น​น้ำมันเบรกรั่ว หรือน้ำมันรั่ว​ ก็เหนียว ๆ หน่อย เข้าหาช่างซ่อมได้เลยครับ​​ ​ ​​

อาการรถเสียที่เป็นบ่อย

          ​- ​สตาร์ทเครื่องยนต์นานกว่าปกติ 

          อาจเกิดจากแบตเตอรี่รถยนต์เสื่อมสภาพ​เช็กเพิ่มเติมที่ตาแมวแบตเตอร์รี่ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบจ่ายเชื้อเพลิงที่ไม่ไหลเข้าระบบก็เป็นได้ครับ 

อาการรถเสียที่เป็นบ่อย

          ​- ​ช่วงล่างแข็งกระด้าง 

          ​นั่งแล้วรู้สึกรถตึงตัง ตกหลุมแล้วเสียงดัง ​อาจเกิดจากระบบช่วงล่างมีปัญหา อาทิ โช้คอัพเสื่อมเช็กเพิ่มเติมก้มดูที่โช้คว่ามีอะไรเปียก ๆ เหนียว ๆ ติดไหม ถ้ามีอาจเป้นโช้ครั่ว เช็กลมยางอ่อน หรือสาเหตุอื่น​ ​ๆ ​เพิ่มเติม​

อาการรถเสียที่เป็นบ่อย

​          - ​เครื่องยนต์สั่นจนดับ 

          ลองสตาร์ทรถ แล้วเร่งเครื่องให้แรงขึ้น เพราะเครื่องยนต์อาจเดินรอบไม่ถูก หากยังมีอาการสั่น จนเครื่องดับ ให้นำรถไปเข้าศูนย์บริการ 

อาการรถเสียที่เป็นบ่อย

          ​- ​เร่งเครื่องไม่ขึ้น 

          เป็นสัญญาณเตือนว่าถึงกำหนดเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง กรองอากาศ หรือกรองน้ำมันเชื้อเพลิง 

อาการรถเสียที่เป็นบ่อย

​          หากเรารู้ถึงต้นเหตุ เวลาคุยกับช่าง หรือแจ้งซ่อมจะได้รับความสะดวก รวดเร็วกว่า​ แถมแก้ปัญหาได้เด็ดขาด หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน สามารถนำไปประยุกต์วิเคราะห์เพิ่มเติมเพื่อรถของคุณเอง
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.mitsupatapeethong.com/

วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560

ฤกษ์ออกรถ กันยายน 2560

ฤกษ์ออกรถ2560ข้อมูล Content จาก www.horoworld.com  ดูดวงแบบ Exclusive โทร. 1900-1900-5
            ฤกษ์ออกรถ ดูฤกษ์ออกรถประจำเดือนกันยายน ฤกษ์ดีออกรถปี 2560 ในปีนี้ใครที่กำลังวางแผนจะออกรถใหม่ อย่ารอช้า ! มาดูฤกษ์ดี ๆ สำหรับออกรถตลอดทั้งปีกันเลย...

            รวมฤกษ์ดี ๆ สำหรับออกรถใหม่ป้ายแดง ในปี 2560 หากใครที่กำลังวางแผนที่จะซื้อรถใหม่ เพื่อความโชคดีและเป็นสิริมงคล วันนี้กระปุกดอทคอมมีฤกษ์ดี ๆ สำหรับออกรถตลอดทั้งปี โดย อ.เก่ง ชนกันต์ จากเว็บไซต์ Horoworld.com  มาฝากกันแล้ว ชอบฤกษ์ไหน เดือนไหน วันไหน ก็เลือกเอาไปใช้ได้ตามสะดวกกันเลย...
ฤกษ์ออกรถเดือนกันยายน 2560
          วันอังคาร วันที่ 5, 12 เวลาสตาร์ทกุญแจ 14.19 น. (ห้ามคนเกิดวันพุธ)
          วันพุธ วันที่ 6, 13, 27 เวลาสตาร์ทกุญแจ 16.19 น. (ห้ามคนเกิดวันเสาร์)
          วันพฤหัสฯลบดี วันที่ 7, 14 เวลาสตาร์ทกุญแจ 12.59 น. (ห้ามคนเกิดวันพุธกลางคืน)
          วันศุกร์ วันที่ 1, 8, 15 เวลาสตาร์ทกุญแจ 09.59 น. (ห้ามคนเกิดวันอาทิตย์)
          วันอังคาร วันที่ 26 เวลาสตาร์ทกุญแจ 15.19 น. (ห้ามคนเกิดวันพุธ)
          วันพฤหัสบดี วันที่ 21, 28 เวลาสตาร์ทกุญแจ 09.59 น. (ห้ามคนเกิดวันพุธกลางคืน)

          *** หมายเหตุ วันพุธกลางวัน คือ เกิดช่วงเวลา 06.00–18.00 น. วันพุธกลางคืน คือ เกิดช่วงเวลา 18.00–06.00 น. ***



ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากhttp://www.mitsupatapeethong.com/

วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2560

พ่วงแบตเตอรี่รถยนต์ ถูกวิธี ปลอดภัย ลดความเสี่ยง

ปภ.​ ​แนะเลือกใช้และพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์ถูก​​วิธี​ ​พ่วงแบตเตอรี่ไม่ติด พ่วงแบตเตอรี่ผิดขั้ว จะไม่เกิดขึ้น ถ้าเรามาเรียนรู้ทักษะการพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์ถูก​​วิธี
          แบตเตอรี่รถยนต์เป็นอุปกรณ์จัดเก็บและจ่ายกระแสไฟฟ้าของรถยนต์ ซึ่งบ่อยครั้งที่ผู้ขับขี่มักประสบปัญหาแบตเตอรี่เสื่อมสภาพ ทำให้เครื่องยนต์ดับและสตาร์ทไม่ติด การพ่วงแบตเตอรี่จึงเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้ระบบไฟฟ้าทำงานได้ตามปกติในระยะเวลาสั้น​ ​ๆ ก่อนนำรถไปตรวจสอบ ซึ่งการพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์อย่างไม่ถูกวิธี​ อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ 
พ่วงแบต ให้ถูกวิธีทำอย่างไร

          เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ก็มีข้อแนะนำดี ๆ  เกี่ยวกับการเลือกใช้แบตเตอรี่ และพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์อย่างถูกวิธี ดังนี้

พ่วงแบต ให้ถูกวิธีทำอย่างไร
การเลือกใช้แบตเตอรี่รถยนต์
          ​- ​ใช้แบตเตอรี่รถยนต์ที่ได้มาตรฐาน มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม​ (มอก.) และผ่านการทดสอบมาตรฐานความปลอดภัย
          ​- ​เลือกแบตเตอรี่ที่มีขนาดเหมาะสมกับการใช้งานของรถแต่ละรุ่น โดยมีขนาดแอมแปร์เท่ากับ​ห​รือมากกว่าที่ติดมากับรถยนต์
          ​- ​มีความจุไฟฟ้าเหมาะสมกับปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้าของรถ หากมีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม อาทิ เครื่องเสียง ให้ใช้แบตเตอรี่ที่มีขนาดแอมแปร์สูงขึ้น

การพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์
          -  ปิดสวิตช์และอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดของรถ
          -  นำรถคันที่มีแบตเตอรี่ปกติมาจอดใกล้ ๆ เพื่อต่อสายพ่วงแบตเตอรี่
          -  นำสายพ่วงแบตเตอรี่ขั้วบวก (สีแดง) ต่อกับแบตเตอรี่ขั้วบวกของรถคันที่แบตเตอรี่หมดก่อน แล้วมาต่อกับรถที่มาช่วย
          -  นำสายพ่วงแบตเตอรี่ขั้วลบ (สีดำ) ต่อกับแบตเตอรี่ขั้วลบของรถคันที่มาช่วย อีกฟากให้หนีบที่โลหะในเครื่องยนต์ เป็นการสร้างระบบกราวนด์ของแบตเตอรี่
          -  สตาร์ทเครื่องยนต์รถคันที่มีแบตเตอรี่ทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที แล้วเร่งเครื่องยนต์เล็กน้อย เพื่อให้แบตเตอรี่มีการไหลเวียนของประจุไฟฟ้า
          -  สตาร์ทเครื่องยนต์รถคันที่แบตเตอรี่หมด พร้อมเร่งเครื่องในอัตรา 1,500–2,000 รอบต่อนาที เพื่อตรวจสอบว่ามีประจุไฟฟ้าเข้าหลังจากการชาร์จไฟแบตเตอรี่หรือไม่

          -  ถอดสายพ่วงรถคันที่แบตเตอรี่หมดและถอดสายพ่วงรถคันที่มีแบตเตอรี่ปกติออก
          -  นำรถเข้าศูนย์บริการ เพื่อตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์และเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่

ข้อควรระวังในการพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์

          -  ไม่สตาร์ทเครื่องยนต์และเปิดระบบไฟของรถทั้งสองคัน เพราะจะทำให้เกิดประกายไฟ ส่งผลให้เกิดการระเบิดได้
          -  ไม่ต่อสายพ่วงเข้ากับขั้วลบของแบตเตอรี่ของรถคันที่แบตเตอรี่หมด เพื่อป้องกันแบตเตอรี่ระเบิด
          -  ห้ามสูบบุหรี่ จุดไฟแช็ก หรือก่อให้เกิดประกายไฟ เพราะในขณะต่อสายพ่วงแบตเตอรี่จะมีแก๊สบริเวณดังกล่าว ทำให้เกิดการระเบิดได้
          -  สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตาและถุงมือทุกครั้งที่สัมผัสแบตเตอรี่ เพราะน้ำกรดในแบตเตอรี่เป็นสารกัดกร่อน  ทำให้ได้รับอันตรายได้
          -  ระมัดระวังไม่ให้แบตเตอรี่เอียงหรือตะแคง เพราะน้ำกรดอาจรั่วไหลออกมาทางรูระบาย ก่อให้เกิดอันตรายได้
          -  ระมัดระวังไม่ให้ปลายสายพ่วงแบตเตอรี่สัมผัสกัน เพราะจะทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร

**แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อเวลา 19.40 น. วันที่ 28 มกราคม 2560 
ขอขอบคุณทุกท่านสำหรับการทักท้วงข้อมูลที่ผิดพลาดไว้ ณ ที่นี้ ด้วยครับ


          แม้การพ่วงแบตเตอรี่จะสามารถทำเองได้ แต่ต้องเพิ่มความระมัดระวัง เนื่องจากแบตเตอรี่มีน้ำกรด​ เป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งมีคุณสมบัติกัดกร่อนพื้นผิว อีกทั้งในขณะที่แบตเตอรี่ทำงาน จะเกิดการสะสมของก๊าซไฮโดรเจน หากมีประกายไฟจะทำให้เกิดการระเบิดได้
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากhttp://www.mitsupatapeethong.com/

วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2560

รถสตาร์ทไม่ติด เกิดจากอะไร ? พร้อมวิธีตรวจต้นเหตุ

รถสตาร์ทไม่ติด เกิดจากอะไร
          รถสตาร์ทไม่ติด เกิดจากอะไร ? พร้อมวิธีตรวจต้นเหตุ รถสตาร์ทไม่ติด

          รถสตาร์ทไม่ติด พยายามบิดกุญแจยังไงก็สตาร์ทไม่ได้ เหตุการณ์แบบนี้หลาย ๆ คนคงประสบพบเจอมากับตัวเอง ยิ่งเป็นเวลาเร่งด่วนที่ต้องรีบเร่งด้วยแล้ว มันน่าหงุดหงิดใจยิ่งนัก พาลจะทำให้อารมณ์เสียทั้งวันอีกด้วย

          สำหรับปัญหาหลักของอาการสตาร์ทไม่ติด ส่วนมากจะมาจาก 4 สาเหตุ นั่นก็คือ 1.แบตเตอรี่เสื่อม 2.ไดชาร์จเสื่อม 3.มอเตอร์สตาร์ทเสื่อม 4.ระบบไฟฟ้าในรถมีปัญหา และครั้งนี้กระปุกคาร์ ขอนำเสนอวิธีตรวจเช็ก ว่ามาจากสาเหตุใดกันแน่

           แบตเตอรี่เสื่อม

รถสตาร์ทไม่ติด เกิดจากอะไร

          อาการแบตเตอรี่เสื่อมเพราะตัวแบตไม่สามารถเก็บประจุไฟฟ้าไว้ได้นาน มีการรั่วไหลของแบตจนหมดในระยะเวลาอันสั้น อาการเสื่อมก็มีหลายระดับไม่เท่ากัน เสื่อมน้อยก็อาจจอดทิ้งเกิน 8 ชม. ขึ้นไปเริ่มสตาร์ทยาก ถ้าแบตเสื่อมมากเพียงแค่ 2-3 ชม. ก็อาจสตาร์ทรถไม่ติดเลย 

          สัญญาณเตือนอาการแบตเสื่อมเบื้องต้นคือ รถเริ่มสตาร์ทยาก มีเสียงแชะ ๆ ลากยาวกว่าจะสตาร์ทติด หลังการจอดรถทิ้งไว้ แก้ปัญหาเบื้องต้นคือขอพ่วงแบตกับคันอื่น

          ไดชาร์จเสื่อม

รถสตาร์ทไม่ติด

          นี่จะเป็นปัญหาหนักกว่าแบตเตอรี่เสื่อม เพราะอาการคล้ายกันมาก แต่มีจุดสังเกตที่แตกต่าง คือรถดับเองขณะรอบต่ำ หรือวิ่ง ๆ อยู่รถก็ดับกลางอากาศ

          แต่หากไดชาร์จเสื่อมไม่มาก เมื่อจอดทิ้งเอาไว้แล้วสตาร์ทรถไม่ติดเช่นกัน แก้ปัญหาเบื้องต้นด้วยการพ่วงแบต แต่เราเช็กไดชาร์จเสื่อมได้ง่าย ๆ โดยให้รถสตาร์ททิ้งไว้สักครู่ แล้วถอดขั้วแบตออกสักหนึ่งข้าง หากรถดับทันทีหรือมีอาการไฟตก รถกระตุก ชัดเจนว่าสาเหตุจากไดชาร์จเสื่อม

          เพราะหน้าที่ของไดชาร์จคือปั่นกระแสไฟเลี้ยงรถยนต์และชาร์จเก็บเข้าแบตเตอรี่ หากถอดขั้วแบตออกไฟจากไดชาร์จก็ยังเลี้ยงระบบไฟรถได้คือยังปรกตินั่นเอง

          มอเตอร์สตาร์ทเสื่อม

รถสตาร์ทไม่ติด

          หากสตาร์ทรถไม่ติดเลย ลองพ่วงแบต หรือนำแบตเตอรี่ลูกใหม่มาเปลี่ยนก็ไม่หาย แต่เข้าไปดูที่แผงหน้าปัดก็มีไฟติด สตาร์ทแล้วยังมีเสียงแชะ ๆ (หรือเงียบสนิทก็ได้)  ให้พุ่งเป้าไปที่มอเตอร์สตาร์ทมีปัญหา เตรียมควักระเป๋ามากกว่าปรกติแน่นอน เพราะต้องพึ่งรถลาก หรือบริการซ่อมนอกสถานที่

          ระบบไฟฟ้ารถมีปัญหา

รถสตาร์ทไม่ติด เกิดจากอะไร

          ความจริงแล้วระบบไฟฟ้ารถมีปัญหานั้นเกิดยากสักหน่อย แต่ก็เป็นไปได้ อาการก็ดูง่าย ๆ ว่าบิดกุญแจแล้วไฟที่แผงหน้าปัดไม่มีอะไรขึ้นเลย หากก่อนหน้านี้จอดทิ้งรถไว้นาน ๆ มีกรณีหนูเข้ามากัดสายไฟมาแล้ว

          การตรวจเช็กเบื้องต้น ลองพ่วงแบตดูก่อน ถ้าไม่มีการตอบสนองอะไรเลยเช่นเดิม ก็ชัดเจนว่าเป็นกรณีนี้ เรียกรถลากเข้าศูนย์หรืออู่ซ่อมแน่นอน

          ทั้งนี้กรณีรถสตาร์ทไม่ติด อาจจะปัญหาพร้อมกันมากกว่าหนึ่งกรณี เช่น แบตและไดชาร์จมีปัญหาทั้งคู่ เมื่อเกิดปัญหาแล้วก็อย่าลืมลองตรวจเช็กให้ครบถ้วนจะได้ไม่เจอปัญหาต่อเนื่อง และทางที่ดีควรหมั่นสังเกตความผิดปรกติของรถตามที่เราแนะนำ บำรุงรักษาเรื่อย ๆ ดีกว่ามารอซ่อมแน่นอนครับ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากhttp://www.mitsupatapeethong.com/

เปลี่ยนไส้กรองรถยนต์ การบำรุงรักษาเบื้องต้นที่คุณทำเองได้

          ไส้กรองอากาศ (Air Filter) ในเครื่องยนต์ของรถคุณ ทำหน้าที่กรองเอาฝุ่นผงและละอองต่าง ๆ ออกจากอากาศ ก่อนที่อากาศส่วนนี้จะเข้าไปผสมกับน้ำมัน ทำให้เกิดการจุดระเบิดได้อันนำมาซึ่งพลังงานในการขับเคลื่อนของรถนั่นเอง อากาศที่สะอาดดีจะทำให้กระบวนการสันดาปของเครื่องยนต์เป็นไปอย่างสมบูรณ์ เร่งเครื่องง่ายไม่หนืด รอบขึ้นไว ควันไม่ดำ (ไอเสียน้อย) ประหยัดน้ำมันเพราะการเผาผลาญน้ำมันกับอากาศเป็นไปอย่างสมดุล แต่เมื่อไส้กรองนี้ทำหน้าที่ไปนาน ๆ ก็จะจะมีฝุ่นละอองต่าง ๆ มาสะสม เริ่มเกิดการอุดตัน ทำให้อากาศไหลเข้าเครื่องยนต์ได้น้อยลง ถึงตอนนี้คุณจะเริ่มสังเกตได้ว่ารอบขึ้นช้า เร่งเครื่องได้ไม่คล่องเหมือนเดิม เครื่องยนต์มีพลังงานลดลง ควันมีไอเสียมาก เพราะประสิทธิภาพการจุดระเบิดเผาไหม้ด้อยลงกว่าเดิม เปลืองน้ำมัน แถมถ้ามีฝุ่นหลุดเข้าไปในระบบเครื่องยนต์ ก็จะทำให้เครื่องยนต์สึกหรอได้ไว เมื่อรถของคุณเริ่มมีอาการดังนี้ ก็ถึงเวลาที่จะต้องดึงไส้กรองออกมาทำความสะอาด หรือเปลี่ยนตัวใหม่เข้าไปแทนที่แล้วครับ 

          หากคุณนำรถที่ตรวจเช็คสภาพที่อู่ อาจพบว่าช่างมักเสนอให้เปลี่ยนไส้กรองอยู่เนือง ๆ เหตุผลหนึ่งอาจเพราะถึงระยะที่สมควรเปลี่ยนพอดี แต่ก็มีบางที่ที่พยายามแนะนำให้เปลี่ยนเพราะการเปลี่ยนไส้กรองอากาศนั้นง่าย ต้นทุนไม่แพง แต่สามารถคิดค่าบริการได้สูง .. แหม รู้อย่างนี้แล้วมาเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนไส้กรองด้วยตัวเองกันดีกว่าครับ ลองทำสักครั้งจะรู้ว่ามันง่ายจนไม่อยากใช้บริการช่างอีกเลยล่ะ 

          อุปกรณที่ต้องใช้ในการเปลี่ยนไส้กรองอากาศรถยนต์ ได้แก่ ไขควงปากแบน เครื่องเป่าลมทำความสะอาด และ ไส้กรองตัวใหม่ (ในกรณีที่ไส้กรองเดิมเก่าเกินจะทำความสะอาดแล้วใช้ต่อได้)  
เปลี่ยนไส้กรองรถยนต์

          เมื่ออุปกรณ์พร้อม ก็มาลงมือกันได้เลยครับ 
          - เปิดฝากระโปรงหน้า แล้วหาตำแหน่งไส้กรองของรถคุณให้เจอ ส่วนใหญ่จะเป็นกล่องพลาสติกที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาชิ้นส่วนเครื่องยนต์ทั้งหลาย

          - แกะกล่องเพื่อนำไส้กรองด้านในออกมาทำความสะอาด  โดยกล่องนี้จะถูกปิดไว้ด้วยคลิปล็อก ที่ด้านขวาและด้านซ้าย ให้ใช้ไขควงงัดคลิปออก เมื่องัดคลิปครบทุกตัวแล้วค่อย ๆ ขยับฝาครอบไส้กรอง ยกออกมา แล้วค่อย ๆ ยกตัวไส้กรองออกมาด้วย ระวังอย่าให้ฝุ่นฟุ้งกระจายไปติดชิ้นส่วนอื่น ๆ

          - นำฝาครอบไส้กรองมาล้าง เช็ดทำความสะอาดบริเวณที่ติดตั้งที่กรองด้วยผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ส่วนนี้ห้ามใช้ลมเป่าเด็ดขาดเพราะจะทำให้ฝุ่นฟุ้งเข้าไปในเครื่องยนต์ได้ ส่วนตัวไส้กรองให้ใช้เครื่องเป่าลมเป่าไล่ฝุ่นละอองตามรอบพับของไส้กรองแต่ละจีบออกให้หมด

          - หากต้องการทราบงว่าไส้กรองอันเดิมที่มีอยู่ยังสามารถใช้งานต่อได้หรือไม่  ทำได้โดยหลังจากเป่าทำความสะอาดแล้วให้ลองใช้ไฟฉายส่องผ่านจากด้านใน ถ้ายังสามารถมองทะลุกระดาษซึ่งเป็นไส้กรองได้ และไม่พบรอยฉีกขาดใด ๆ ก็ยังนำไปใช้ต่อได้ แต่หากกระดาษไส้กรองนั้นทึบ ไฟส่องผ่านไม่ได้ ก็สมควรต้องเปลี่ยนใหม่แล้ว

          - นำไส้กรองที่ทำความสะอาดแล้ว หรือไส้กรองอันใหม่ที่จะเปลี่ยนใหม่ติดตั้งเข้าไปแทนที่ ขั้นตอนนี้ไม่ยุ่งยาก แค่ทำทวนวิธีเดิม ใส่ไส้กรองให้ตรงตำแหน่ง นำฝาครอบที่เช็ดทำความสะอาดแล้วมาปิดลงไป ล็อกคลิปเข้าตำแหน่งเดิม เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วครับ

          กรรมวิธีในการเปลี่ยนและทำความสะอาดไส้กรองที่ว่ามานี้ หากมีอุปกรณ์ครบพร้อม รับรองว่าใช้เวลาไม่เกิน 10 นาทีเท่านั้นครับ ประหยัดเวลาไม่ต้องพารถไปถึงอู่ ประหยัดสตางค์ค่าบริการไปได้หลายบาท ยิ่งถ้าคุณต้องขับรถในย่านที่มีฝุ่นละอองค่อนข้างหนาแน่น การทำความสะอาดไส้กรองก็ต้องทำบ่อยขึ้น (ตามปกติควรทำความสะอาดไส้กรองทุก ๆ ระยะวิ่ง 20,000 กิโลเมตร) ถ้าสามารถทำได้ด้วยตัวเองแบบนี้ รับรองว่าสบายใจสบายกระเป๋าไปหลายเท่าเลยคร
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากhttp://www.mitsupatapeethong.com/

ลองทำดู คุณทำได้ เปลี่ยนสายพานเครื่องยนต์ด้วยตัวเองกัน

เปลี่ยนสายพานเครื่องยนต์ด้วยตัวเอง

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก popularmechanics.com

          สาเหตุของเสียงเครื่องยนต์ดังผิดปกติอย่างหนึ่งคือ สายพานเครื่องยนต์มีปัญหา อาจเกิดจากการหมดอายุการใช้งานหรือการปรับแต่งที่ไม่เหมาะสม ซึ่งการดูแลสายพานหน้าเครื่องไม่ใช่เรื่องยากเลย สายพานมักมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อยเพื่อการทำงานของเครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเครื่องยนต์จึงมักวางสายพานในตำแหน่งที่สังเกตได้ง่าย

          ในสมัยก่อนเครื่องยนต์นั้นจะมีสายพานทำหน้าที่ต่าง ๆ มากมาย ทำให้มีสายพานมากถึง 7-8 เส้น แต่เครื่องยนต์สมัยนี้มีสายพานเพียง 1-2 เส้นเท่านั้น จึงง่ายต่อการดูแลและสามารถได้ด้วยตัวเอง สายพานหน้าเครื่องสมัยนี้เป็นแบบเซอร์แพนไทน์ (Serpantine Belt) ซึ่งถูกออกแบบมาให้ขับเคลื่อนทุกอย่างในเส้นเดียว ปรับการทำงานได้อัตโนมัติ ช่วยผู้ขับขี่เรื่องอายุการใช้งานและค่าใช้จ่ายได้เยอะทีเดียว
          การเปลี่ยนสายพานควรจะทำทุก 50,000 กิโลเมตร หรือ 2-3 ปี สายพานที่ดีจะต้องไม่มีรอยแตกลายงาที่เนื้อยาง และควรปรับไม่ให้ตึงเกินไป เพราะจะกินกำลังเครื่องยนต์เกินจำเป็น หรือหย่อนเกินไปจะทำให้เกิดเสียงดังขณะขับขี่และส่งกำลังได้ไม่เต็มที่ ซึ่งควรมีระยะฟรีเมื่อกดลงไปลึกประมาณ 1 นิ้ว

           อุปกรณ์

           ประแจเบอร์ 12

          
 ประแจเบอร์ 17

          
 ประแจเบอร์ 22

          
 ประแจบล๊อคตัวทีเบอร์ 17

          
 สายพานใหม่

           ขั้นตอนการเปลี่ยนสายพาน

เปลี่ยนสายพานเครื่องยนต์ด้วยตัวเอง
           ใช้ประแจเบอร์ 12 ขันคลายตัวตั้งสายพาน (พูลเลย์ตัวเร่ง) ตัวที่ 1

           นำประแจเบอร์เดียวกัน คลายตัวตั้งสายพาน (พูลเลย์ตัวเร่ง) ตัวที่ 2

           ใช้ประแจเบอร์ 17 ขันคลายน๊อตตัวล่าง บริเวณใต้ไดชาร์จออก

เปลี่ยนสายพานเครื่องยนต์ด้วยตัวเอง
           เมื่อคลายน็อตต่าง ๆ ออกแล้ว ก็ค่อย ๆ นำสายพานออกมาทีละข้าง

           ถ้าเห็นว่ามีอะไรขวางแล้วสามารถถอดออกได้ง่าย ก็ให้นำออกไปก่อน

           นำประแจเบอร์ 22 ขันพูลเลย์อีกตัวหนึ่งออก โดยขันทวนเข็มนาฬิกา

           ใช้ประแจบล็อคตัวทีเบอร์ 17 ขันพูลเลย์ตัวเร่งออก โดยค่อย ๆ คลายทีละนิด

           พอคลายพูลเลย์ตัวเร่งได้แล้วก็ค่อย ๆ นำสายพานออก

เปลี่ยนสายพานเครื่องยนต์ด้วยตัวเอง
           นำสายพานเส้นใหม่ ใส่เข้าไป โดยต้องใส่สายพานเส้นที่อยู่ในก่อน

           เมื่อใส่ไปแล้วต้องเช็คความตึง โดยใช้มือกดดู ต้องหย่อนนิด ๆ ไม่ตึงมากไป

           พอตั้งได้ระยะที่ใช้ได้แล้ว ก็ใช้ประแจขันล็อคให้แน่นพอประมาณ จนครบทุกตัว

           เช็คความตึงของสายพาน และตัวล็อคต่าง ๆ แล้วประกอบกลับให้เรียบร้อย เป็นอันเสร็จ

          ไม่ยากใช่ไหมครับ สำหรับขั้นตอนการเปลี่ยนสายพานหน้ารถ หลังจากนี้ ชาวกระปุกคงสามารถดูแลรถยนต์ที่รักของตัวเองได้มากขึ้นแล้วใช่ไหมครับ ซึ่งการดูแลแบบนี้จะช่วยรักษาสภาพรถให้ใหม่และยืดอายุการใช้งานออกไปได้อีกนานเลยนะครับ หากชาวกระปุกสนใจวิธีการดูแลรถยนต์ดี ๆ ด้วยตัวเองแบบนี้ อย่าลืมติดตามกระปุกคาร์นะครับ เพราะเราจะนำเสนอสาระดี ๆ เรื่อยไปครับผม

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากhttp://www.mitsupatapeethong.com/

7 อุปกรณ์ที่ควรมีติดรถ หากคุณรักการลุยออฟโรด

          7  อุปกรณ์ที่ควรมีติดรถ  ​ไป​ลุยออฟโรด แนะนำ 7 อุปกรณ์ที่ควรมีติดรถ สำหรับลุยออฟโรด            ​การขับขี่ออฟโรด นั้นหมายถึงเส้...