![วิธีเลือกและดูแลใบปัดน้ำฝน วิธีเลือกและดูแลใบปัดน้ำฝน](https://img.kapook.com/u/2017/wittawat_ch/600x315_23.jpg)
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ใบปัดน้ำฝนเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานในช่วงฤดูฝน ทำให้ผู้ขับขี่มีทัศนวิสัยในการมองเห็นเส้นทางอย่างชัดเจน จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะ การเลือกใช้และดูแลใบปัดน้ำฝนให้พร้อม
ใช้งานในช่วงฤดูฝน ดังนี้การเลือกใช้ใบปัดน้ำฝน
ใช้ใบปัดน้ำฝนที่ผลิตจากวัสดุและเนื้อยางที่มีคุณภาพดี เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างคงทน โครงของใบปัดน้ำฝนทำจากโลหะ เพื่อป้องกันการกระพือจากแรงลมในขณะขับรถด้วยความเร็วสูง และช่วยเพิ่มน้ำหนักในการรีดน้ำจากกระจก มีขนาดเหมาะสมกับมาตรฐานที่รถกำหนด
หากใบปัดน้ำฝนมีขนาดเล็กเกินไป ทำให้รัศมีในการ ปัดน้ำฝนน้อยลง ส่งผลต่อทัศนวิสัยในการมองเห็นเส้นทาง หากใบปัดน้ำฝนมีขนาดใหญ่มากไป ใบปัดจะเลยขอบกระจก ทำให้มีอายุการใช้งานสั้นลง
ยางใบปัดน้ำฝนแนบสนิทกับกระบังลมหน้า-หลัง เลือกที่มีความยืดหยุ่นและมีขนาดพอดีกับก้านใบปัดน้ำฝน เนื้อยาง มีคุณสมบัติพิเศษ ไม่เสื่อมสภาพเร็วเกินไป และคงทนต่อสภาพอากาศร้อน
วิธีสังเกตลักษณะของใบปัดน้ำฝนที่เสื่อมสภาพ
- เนื้อยางแข็งกรอบและมีรอยฉีกขาด
- กวาดน้ำบนกระจกไม่สะอาด รีดน้ำจากกระจกไม่หมด
- กวาดแล้วมีรอยขุ่นมัวหรือละอองน้ำเป็นม่านบนกระจก
- ยางปัดน้ำฝนมีอายุใช้งานมานานมากกว่า 1 ปี
- มีเสียงดังและมีอาการกระตุกขณะใช้งาน ซึ่งเกิดจากการเสียดสีกันระหว่างใบปัดน้ำฝนกับกระจก
การดูแลใบปัดน้ำฝน
- จอดรถในที่ร่ม เพื่อป้องกันแสงแดด ทำให้ยางใบปัดน้ำฝนแข็งกรอบและขาดความยืดหยุ่น เพราะยางต้องแนบกับกระจกที่รับความร้อน
- หมั่นตรวจสอบสภาพและทำความสะอาดยางใบปัดน้ำฝน โดยยกก้านใบปัดน้ำฝนขึ้นและ ใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดเช็ดตามแนวยาวของใบปัดน้ำฝน
- ไม่ใช้ผงซักฟอกทำความสะอาดใบปัดน้ำฝน เพราะทำให้ยางเสื่อมสภาพเร็วและสีรถได้รับความเสียหาย
- ใช้น้ำยาเช็ดกระจกและเคลือบกระจกอยู่เสมอ จะทำให้กระจกสะอาดและใบปัดน้ำฝนทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
กรณีใบปัดน้ำฝนชำรุด
หากยางปัดน้ำฝน ฉีกขาด แข็งกรอบ ปัดน้ำไม่สะอาด มีเสียงดังหรือสะดุดขณะใช้งาน มีรอยขีดข่วนบนกระจก ให้เปลี่ยนชุดใบปัดน้ำฝนใหม่ เติมน้ำผสมน้ำยาเช็ดกระจกหรือแชมพูในกระปุกฉีดน้ำ จะช่วยขจัดคราบสกปรกบนกระจกได้สะอาดขึ้น
กรณีหัวฉีดน้ำอุดตัน
ใช้เข็มหมุดเจาะบริเวณรู พร้อมปรับทิศทางของช่องฉีดน้ำให้อยู่แนวกึ่งกลางของกระจกรถ
ทั้งนี้ การใช้ใบปัดน้ำฝนที่เสื่อมสภาพ นอกจากจะไม่สามารถกวาดน้ำบนกระจกได้สะอาดแล้ว ยังส่งผลให้กระจกหน้ารถเป็นรอย โดยเฉพาะการขับรถในช่วงที่ฝนตกหนัก ทำให้มีทัศนวิสัยในการมองเห็นเส้นทางไม่ชัดเจน จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
![วิธีเลือกและดูแลใบปัดน้ำฝน วิธีเลือกและดูแลใบปัดน้ำฝน](https://img.kapook.com/u/2017/wittawat_ch/1_1.jpg)
หากใบปัดน้ำฝนมีขนาดเล็กเกินไป ทำให้รัศมีในการ ปัดน้ำฝนน้อยลง ส่งผลต่อทัศนวิสัยในการมองเห็นเส้นทาง หากใบปัดน้ำฝนมีขนาดใหญ่มากไป ใบปัดจะเลยขอบกระจก ทำให้มีอายุการใช้งานสั้นลง
ยางใบปัดน้ำฝนแนบสนิทกับกระบังลมหน้า-หลัง เลือกที่มีความยืดหยุ่นและมีขนาดพอดีกับก้านใบปัดน้ำฝน เนื้อยาง มีคุณสมบัติพิเศษ ไม่เสื่อมสภาพเร็วเกินไป และคงทนต่อสภาพอากาศร้อน
วิธีสังเกตลักษณะของใบปัดน้ำฝนที่เสื่อมสภาพ
![วิธีเลือกและดูแลใบปัดน้ำฝน วิธีเลือกและดูแลใบปัดน้ำฝน](https://img.kapook.com/u/2017/wittawat_ch/2_1.jpg)
- กวาดน้ำบนกระจกไม่สะอาด รีดน้ำจากกระจกไม่หมด
- กวาดแล้วมีรอยขุ่นมัวหรือละอองน้ำเป็นม่านบนกระจก
- ยางปัดน้ำฝนมีอายุใช้งานมานานมากกว่า 1 ปี
- มีเสียงดังและมีอาการกระตุกขณะใช้งาน ซึ่งเกิดจากการเสียดสีกันระหว่างใบปัดน้ำฝนกับกระจก
การดูแลใบปัดน้ำฝน
![วิธีเลือกและดูแลใบปัดน้ำฝน วิธีเลือกและดูแลใบปัดน้ำฝน](https://img.kapook.com/u/2017/wittawat_ch/3_2.jpg)
- หมั่นตรวจสอบสภาพและทำความสะอาดยางใบปัดน้ำฝน โดยยกก้านใบปัดน้ำฝนขึ้นและ ใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดเช็ดตามแนวยาวของใบปัดน้ำฝน
- ไม่ใช้ผงซักฟอกทำความสะอาดใบปัดน้ำฝน เพราะทำให้ยางเสื่อมสภาพเร็วและสีรถได้รับความเสียหาย
- ใช้น้ำยาเช็ดกระจกและเคลือบกระจกอยู่เสมอ จะทำให้กระจกสะอาดและใบปัดน้ำฝนทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
กรณีใบปัดน้ำฝนชำรุด
![วิธีเลือกและดูแลใบปัดน้ำฝน วิธีเลือกและดูแลใบปัดน้ำฝน](https://img.kapook.com/u/2017/wittawat_ch/4_1.jpg)
กรณีหัวฉีดน้ำอุดตัน
![วิธีเลือกและดูแลใบปัดน้ำฝน วิธีเลือกและดูแลใบปัดน้ำฝน](https://img.kapook.com/u/2017/wittawat_ch/6_2.jpg)
ทั้งนี้ การใช้ใบปัดน้ำฝนที่เสื่อมสภาพ นอกจากจะไม่สามารถกวาดน้ำบนกระจกได้สะอาดแล้ว ยังส่งผลให้กระจกหน้ารถเป็นรอย โดยเฉพาะการขับรถในช่วงที่ฝนตกหนัก ทำให้มีทัศนวิสัยในการมองเห็นเส้นทางไม่ชัดเจน จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น